Wednesday 15 October 2008

สนนท. และ ประกายไฟ เสวนา: ประเทศไทยต้องเลือกนายกโดยตรง

12ต.ค.51 - เมื่อเวลา 13.00 น. กลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและกลุ่มประกายไฟ ได้เปิดเวทีเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นภายใต้ เรื่อง “ประเทศไทยต้องเลือกนายกฯโดยตรง” โดยมี นายบัษฐรัมย์ ธรรมบุตรดี กลุ่มประกายไฟ นายอาเต๊ฟ โซ๊ะโกะเลขาธิการ สนนท. และ นายพรหมา ภูมิพันธ์ ประธานสหพันธ์สิ่งทอและอุตสาหกรรมเครื่องหนังแห่งประเทศไทย เป็นผู้เปิดประเด็น ดำเนินรายการโดย นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง ณ ห้องประชุม 12 ตึกเกษมอุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นาย โชติศักดิ์ อ่อนสูง กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเปิดเวทีในครั้งนี้ว่า ต้องการที่จะพูดถึงประเด็นที่มาโครงสร้างทางการเมืองหรือโครงสร้างอื่นๆที่ เกี่ยวข้อง และเพื่อต้องการลงในรายละเอียดของกระบวนการเลือกนายกโดยตรง นอกจากนี้นายโชติศักดิ์ยังได้ยกบทความของอาจารย์นิธิในเรื่องการเลือกตั้ง นายกโดยตรงมาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ร่วมสนทนาอีกด้วย

ซึ่งการเสวนาได้เริ่มจากนายอาเต๊ฟ โซ๊ะโกะ เลขาธิการ สนนท. ได้แจกแจงรายละเอียดในเรื่องระบบประชาธิปไตยก่อนที่จะเข้าถึงในรายละเอียด ของกระบวนการเลือกนายกโดยตรง ว่าใจความสำคัญของประชาธิปไตยมีหลักใหญ่ๆอยู่ 2 อย่างก็คือ 1.เรื่องอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของประชาชนทุกคน2.เรื่อง สิทธิเสรีภาพ เมื่อเราเข้าใจเรื่องนี้แล้วเราก็จะมาพูดถึงเรื่องการเลือกนายกฯที่มาจากการ เลือกตั้งโดยตรง ซึ่งจริงๆ แล้ว นักวิชาการและผู้ที่ศึกษาเรื่องประชาธิปไตยไม่ได้เห็นแย้งในหลักการเรื่อง นายกฯมาจากการเลือกตั่งโดยตรง แต่ว่าจากที่เราสังเกตกลุ่มบุคคลที่ให้ความเป็นห่วงสิ่งที่ทางเรานำเสนอเป็น เรื่องของการที่เราสามารถจะใช้การเลือกตั้งในประเทศไทยได้มากน้อยแค่ไหน ผมต้องการที่จะให้ทุกคนพูดถึงประชาธิปไตยอย่างเข้าใจในเจตนารมณ์ของ ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือถ้าเกิดว่าเราเข้าใจเจตนาของประชาธิปไตย เราเองก็จะคิดผ่านเรื่องการเลือกตั้งนายกโดยตรงดังกล่าวได้โดยง่ายขึ้น

ด้านนายบัษฐรัมย์ ธรรมบุตรดี ได้กล่าวถึงข้อเสนอ ใน6 ข้อ ของกลุ่มประกายไฟซึ่งประกอบไปด้วย การเลือกตั้งนายกโดยตรง การยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค การเก็บภาษีก้าวหน้า การยกเลิกภาษีทางอ้อม การสร้างรัฐสวัสดิการ และยกเลิกงบประมาณทางด้านทหาร ทั้ง6ข้อนี้ต้องไปด้วยกัน ซึ่งตลอด 10ปี ที่มีการถกเถียงในเรื่องจะสร้างระบบการเมืองแบบใด จะจัดตั้งรัฐบาลแบบใด ที่จะไม่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็งหรืออ่อนแอจนเกินไป การถกเถียงดังกล่าวเป็นการถกเถียงในเรื่องรัฐสภาของชนชั้นนายทุน เป็นการถกเถียงการแบ่งผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนว่าจะจัดสรรให้นายทุนอยู่ใน ระบบแบบใดเพื่อที่จะสอดคล้องกันได้ดี

แต่ ในเรื่องการเลือกตั้งนายกโดยตรงนั้นไม่ถึงกับจะเกิดรัฐสวัสดิการขึ้นได้ใน ทันที แต่จะเป็นปัจจัยหนึ่งอาจจะเอื้อให้เกิดรัฐสวัสดิการขึ้นมาได้ นายบัษฐรัมย์ ได้ให้โมเดลว่าถ้ามีการเลือกตั้งนายกโดยตรงนั้นจะเอื้อต่อผลประโยชน์ของชน ชั้นล่างได้อย่างไร นั้นคือ 1. การเลือกตั้งนายกฯโดยตรงจะให้อำนาจกับประชาชนในการควบคุมทิศทางของรัฐบาลซึ่งจะแตกต่างกับการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 2.การ ถอดถอนนายกจะมาจากการทำประชามติเท่านั้นซึ่งประชาชนก็จะมีส่วนร่วมในการ ตัดสิน ซึ่งการทำประชามติจะไม่เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณเพราะในข้อเสนอทั้งหกข้อจะ เอื้อกันอยู่ นั้นก็คือการตัดงบประมาณทางด้านทหารมาใช้ในการทำประชามติจึงไม่ถือว่าเป็น การสิ้นเปลืองเมื่อตัดงบประมาณด้านทหารออก และถ้าถามว่าการเลือกตั้งนายกโดยตรงจะไปกระทบและสร้างความตึงเครียดกับ ประมุขของรัฐหรือเปล่าแน่นอนว่าต้องกระทบ แต่เมื่อพูดถึงในแง่รูปธรรมของการเมืองไทยก็ต้องพูดกันตามเนื้อหาของรัฐ ธรรมนูญที่บอกว่าพระมหากษัตริย์ไทยต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายใต้กฎหมาย ซึ่งถ้าใครดึงเอาพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมืองก็จะผิดรัฐ ธรรมนูญ กษัตริย์สามารถอยู่ได้ในฐานะสัญลักษณ์เชิงประวัติศาสตร์

ปิด ท้ายโดยนายพรหมา ภูมิพันธ์ ประธานสหพันธ์สิ่งทอและอุตสาหกรรมเครื่องหนังแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่าเห็นด้วยกับหลักการของคุณษัษฐรัมย์ ธรรมบุตรดี ที่พูดถึงเรื่องระบบนายกที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งได้พูดถึงโครงสร้าง ซึ่งมันน่าจะเป็นไปได้ และถ้าอยากจะเห็นการเมืองที่มันก้าวหน้าผมคิดว่าประเด็นที่พูดถึงรัฐ สวัสดิการก็เป็นเรื่องที่ดี ถ้าเราสามารถชูประเด็นชูนโยบายเหล่านี้ได้มันก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม ไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ ประเด็นที่ผมมองว่านายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งถ้ามองข้อเสียของการเลือกนายกโดยตรง ณ ขณะนี้เชื่อว่าก็คงลำบาก เพราะว่าถ้าให้โดยตรง แน่นอนพวกนายทุน พวกนี้มันต้องต่อสู้ดิ้นรนที่จะเอาชนะให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ เห็นได้จากการเมืองท้องถิ่นเอาง่ายๆแค่เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านกำนัน ซึ่ง กกต. ไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งถ้าเกิดรู้ว่าคนนี้จ่ายค่าหัว 300 คนนี้ก็ต้อง 400 500 วินาทีสุดก็เป็น 1000 ก็ต้องซื้อ ซึ่งเงินเดือนกำนันผู้ใหญ่บ้านก็นิดเดียวแต่ทำไมถึงกล้าซื้อ ก็เพราะ ถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมมีอะไรเยอะๆ มันจะมีผลประโยชน์สูง ซึ่งประเด็นนี้เป็นปัญหาที่แก้ไขลำบาก ซึ่งถ้าเราจะแก้ไขเรื่องนี้ได้เราจะต้องสร้างหน่ออ่อนทางสังคมนิยมให้มากที่ สุดถ้าเราสร้างได้เราจะแก้ได้ง่าย แต่ ณ ปัจจุบันนี้ก็ลำบากนิดหนึ่ง นี้ก็คือข้อเสียที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่โดยตรง มันก็คงที่จะแก้ไข ณ เวลานี้ไม่ได้ แต่อนาคตนั้นผมมองว่าเป็นไปได้อย่างแน่นอน

หลัง จากนั้นมีการให้ข้อเสนอ ของนายวันเฉลิม เปรมปลื้ม พรรคแนวร่วมภาคประชาชน ว่าการเลือกตั้งโดยตรงนั้นถ้ามองในแนวเสรีนิยมต่อไปจะมีขีดจำกันในการ เคลื่อนไหวทางการเมือง และจะตอบคำถามในเรื่องประชาธิปไตยที่กินได้ของสมัชชาคนจนได้ยากในสถานการณ์ ปัจจุบัน

No comments: